โปรโมชั่น
ข่าวสารและกิจกรรม
ผลงานของเรา
บล็อก
- FILTERS
CLEAR
PRICE
CATEGORIES
ROOMS
COLLECTIONS
METERIALS & COLORS
+ ADVANCE
STOCK
Include clearance
Include show items
การปรับปรุงต่อเติมบ้านและอาคาร

เจาะลึก งานต่อเติมบ้าน ไร้เสา ไร้คาน ด้วยผนัง ISOWALL

หลังจากที่คอนเทนต์เรื่อง "ต่อเติมบ้าน รูปแบบใหม่ ไร้เสา ไร้คาน ด้วยผนัง ISOWALL"ออกไป และได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีทำให้มีหลายคนสอบถามกันเข้ามามากเรื่องของตัวผนัง Isowall ทั้งเรื่องของ concept งบประมาณในการก่อสร้าง ระยะเวลาในการติดตั้ง การใช้งาน ความทนทาน วันนี้เราเลยจะมาอธิบายเจาะลึกงาน ต่อเติมบ้านครั้งนี้ให้เพื่อนๆหายข้อสงสัยกัน

เราทำความรู้จักกับ ผนัง ISOWALL กันให้มากขึ้น

- ผนัง ISO WALL หรือผนัง EPS หรือหลายคนรู้จักกันในชื่อผนัง sandwich โดย EPS ย่อมาจาก Expandable Polystyrene เป็นเม็ดพลาสติกที่เกิดจากการผลิตของปิโตเรียมและนำมาผ่านกระบวนการผลิตให้เป็นเม็ดโฟมชนิด F-Grade แบบไม่ลามไฟ ข้อสำคัญคือไม่มีสาร CFC เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คุณสมบัติเด่นของผนัง Iso wall ก็คือเป็นฉนวนกันความร้อน และสามารถเก็บอุณหภูมิได้ดีสามารถนำไปใช้งานได้หลายรูปแบบ เช่น หลังคา ผนังบ้านน๊อคดาว์น ผนังตู้คอนเทนเนอร์ ผนังกั้นห้องทั้งภายในและภายนอก หรืองานสร้างอาคารสำเร็จรูปต่างๆ ซึ่งมีน้ำหนักเบาและมีความแข็งแรง สามารถนำมาประกอบเป็นโครงสร้างอาคารต่างๆ ติดตั้งได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว การต่อกันของผนังแต่ละแผ่นจะเป็นระบบคลิปล็อคทำให้สามารถต่อกันได้สนิทไม่หลุดออกจากกัน ผิวหน้าของแผ่นจะมีทั้งแบบเรียบและแบบลอน ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่จะนำไปใช้

ต่อไปเรามาพูดถึง Concept ของตัวงานต่อเติมในครั้งนี้ โดยโจทย์สำคัญหลักของงานนี้คือ วัสดุต้องน้ำหนักเบา ระยะเวลาในการก่อสร้าง และที่สำคัญต้องทำออกมาแล้วดูไม่รู้สึกอึดอัด

ถึงแม้ว่าห้องจะมีขนาดเพียง 21 ตร.ม. แต่สามารถจัดวางห้องได้กว้างกว่าที่คิด โดยเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์เป็นแบบ built-in ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตู้เสื้อผ้าที่สูง ช่วยเพิ่มพื้นที่ในการเก็บของในตู้ได้มากขึ้น อีกทั้งยังไม่เก็บฝุ่นด้านบนหลังตู้แบบตู้ลอยตัวอีกด้วย ตัวลิ้นชักเก็บของทำแบบติดกับตัวผนังทำให้ประหยัดพื้นที่และเพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในห้องไปในตัว บวกกับห้องซึ่งเป็นสีขาวและผนัง ISO WALL ที่ค่อนข้างสูง จึงทำให้ห้องที่มีขนาดเล็กกลายเป็นห้องที่ดูกว้างได้



ถ้าดูจากรูปจะพบว่าผนัง Isowall ที่ถูกต่อเติมขึ้นมา ถูกออกแบบให้มีหน้าต่างรอบด้านเพื่อรับลมและแสงจากธรรมชาติทำให้ถ่ายเทอากาศได้เป็นอย่างดี ยิ่งไปกว่านั้นหน้าต่างบานใหญ่ถูกติดตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของตัวบ้าน เพื่อให้ได้รับแสงแดงอุ่นๆในยามเช้า ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของหน้าต่างขนาดใหญ่ คือทำให้มีแสงสว่างเพียงพอต่อการใช้งานจึงไม่จำเป็นต้องเปิดไฟในเวลากลางวัน ทำให้ประหยัดพลังงานและลดค่าไฟได้ด้วย
เมื่อมองจากด้านข้างจะเห็นว่า ตัวหลังคาก็เลือกใช้เป็นแผ่น Isowall ทั้งหมด ทำให้ประหยัดเวลาและงบประมาณในการปูหลังคากระเบื้องไปได้มาก โดยโครงสร้างหลังคามีการทำ slope ลาดลงมา เพื่อช่วยในการระบายน้ำเวลาที่ฝนตก

งบประมาณ
งบประมาณส่วนใหญ่จะหมดไปกับตัวผนังและค่าแรงในการติดตั้ง ซึ่งตัวผนังนั้นก็มีหลายราคาขึ่นอยู่กับ ขนาด ความหนาของตัวผนัง จำนวนที่ซื้อ โดยแต่ละร้านราคาก็จะต่างกัน แต่หากเลือกใช้เป็นผนังอิฐก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในส่วนของค่าเสา คาน และยังมีค่าใช้จ่ายในเรื่องฝ้าเพดาน ซึ่งถ้าเลือกใช้ผนัง Isowall ก็จะประหยัดงบค่าโครงสร้างในส่วนนี้ลงไปได้มาก เนื่องด้วยแผ่นผนังสำเร็จรูปมีความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักได้ จึงไม่จำเป็นต้องวางโครงสร้างเสาถี่แบบผนังทั่วไป อีกทั้งยังประหยัดค่าทำสี เนื่องจากผ่านทำการทำสีมาตรฐานมาจากโรงงานแล้ว

ความทนทาน
ในเรื่องนี้หากเทียบความแข็งแรงทนทานระหว่างผนัง isowall กับผนังอิฐคงจะเทียบกันไม่ได้ แต่ตัวผนัง Isowallเองก็มีความทนทานในระดับหนึ่ง ซึ่งข้อดีของผนังนี้ก็คือ ช่วยควบคุมอุณหภูมิห้องได้เป็นอย่างดี เหมาะกับสภาพภูมิอากาศประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง มีอายุการใช้งานยาวนาน สะดวกต่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวอาคารและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก

หวังว่าคอนเทนต์นี้จะพอคลายข้อสงสัยที่เพื่อนๆ ถามกันมาได้บ้าง และถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับใครที่กำลังคิดจะต่อเติมบ้าน ยังไงก็ลองนำไปประยุกต์ใช้กันดูนะครับ

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก : https://chonburiwatsadu.blogspot.com/2015/02/eps-iso-wall-call-095-598-2658.html

ติดตามบทความอื่นๆได้ที่ : https://www.moodandtone.co.th/blog.php

สามารถเข้ามาชมสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ https://www.moodandtone.co.th/index.php